บทความด้านการเงิน

เตรียมสุขรับเกษียณ

โพสต์6 ต.ค. 2559 02:56โดยChanon Klungsub   [ อัปเดต 13 ต.ค. 2559 22:57 ]

        เมื่อถึงเวลาเกษียณ ควรมีเงินไว้ใช้หลังเกษียณเท่าไร?” เป็นคำถามที่มักจะถูกถามบ่อยครั้ง การมองว่าเราควรจะมีเงินใช้หลังเกษียณเป็นจำานวนเงินเท่าไรนั้น เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคล อาจเป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนักว่าเท่าไรถึงจะพอหลายท่านอาจลืมคิดค่าใช้จ่ายบางอย่างขณะที่หลายท่านอาจคิดว่าจะใช้เงินน้อยมากไม่ต้องกังวล บางท่านไปทำไร่ทำสวน เพราะฉะนั้นในเบื้องต้น ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองจินตนาการกิจกรรมรายวันหลังเกษียณก่อนว่ามีอะไรบ้าง หรือจะทำาอะไรบ้าง จากนั้นให้นึกถึงค่าใช้จ่ายหลังเกษียณที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น แนวทางนี้อาจทำาให้สามารถประมาณค่าใช้จ่ายก้อนนั้นได้ง่ายขึ้น
        นอกจากนี้ การที่ท่านประมาณเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันเป็นที่ตั้งอาจทำาให้ท่านประมาณเงินที่จะใช้หลังเกษียณคลาดเคลื่อน ไปจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต ณ ช่วงเวลาหลังเกษียณได้
หากยังนึกภาพไม่ชัด ผมมีตัวอย่างกิจกรรมก่อนและหลังเกษียณของคนอเมริกันให้ท่านพิจารณาว่า เขาทำาอะไรกันบ้างในแต่ละวัน ตั้งแต่เช้าถึงดึกเลยครับ

        ข้อมูลข้างต้นเป็นตัวอย่างให้ท่านมองภาพได้ชัดเจนและคาดเดาการใช้เงินหลังเกษียณได้อย่าง แม่นยำขึ้นไม่เช่นนั้นหากประมาณการเงินก้อนนี้ผิดพลาด ชีวิตหลังเกษียณจะกลายเป็นฝันร้ายที่คอย หลอกหลอนท่านอย่างแน่นอน
        นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหลายๆ อย่าง ท่านสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเองโดยใช้หรือลด กิจกรรมนั้นลง แต่หลายอย่างก็อาจไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากจำาเป็นต่อการดำารงชีวิต อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นยังมีการปรับตัวสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เช่นอายุที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะในเยอรมัน อังกฤษ สเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา

เมื่อคิดถึงเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ ผมมีข้อมูลที่หลายๆ ท่านอาจลืมนึกถึงไปคร่าวๆ ดังนี้ครับ


หลายท่านสงสัยว่าเมื่อเกษียณแล้วทำาไมยังต้องมีค่าใช้จ่ายสำารองเผื่อฉุกเฉินอีก ทั้งๆที่เราไม่ได้ทำางานแล้ว ผมอยากให้ท่านนึกถึงการซ่อมแซมบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หลังคารั่ว ปั๊มน้ำเสีย ค่าทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ทีวีดับ กำแพงชำรุด แม้กระทั่งค่าส่วนกลาง หากท่านอยู่อาศัยในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ สิ่งสำคัญมากของ หยุดอยู่กับที่ เมื่อท่านเกษียณจึงอาจจะมีการปรับตัวสูงขึ้น และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยไม่คาดคิด ท่านควรประมาณค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นจำานวนเงินอย่างน้อยเท่ากับ6เดือนของค่าใช้จ่ายหลังเกษียณแต่ละเดือน


หลายท่านอาจแย้งว่าได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยการทำาประกันสุขภาพครบถ้วน อันนี้เป็นสิ่งที่ดีมากเนื่องจากค่ารักษา ค่ายา ค่าผ่าตัดต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตทว่าผมอยาก ให้ท่านเตรียมค่าใช้จ่ายสำาหรับเบี้ยประกันสุขภาพของท่านในแต่ละปีหลังเกษียณด้วยอาจจะทำได้โดยการลงทุน หรือการทำาประกันบำานาญที่ออกแบบมาเพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุโดยเฉพาะด้วยยิ่งดีครับ นอกจากนี้ยังต้องมีการเผื่อค่ารักษาในกรณีที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยครับ


ชื่ออาจฟังดูไม่คุ้นแต่มีโอกาสเกิดขึ้นพอสมควรครับท่านที่มีบุตรหลานและหวังพึ่งพายามแก่เฒ่า เรื่องนี้อาจกลับกลายเป็นภาระได้นะครับ บุตรหลานของท่าน หลายคนอาจยังต้องการการสนับสนุนค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาบุตรที่ยังเรียนไม่จบ ค่างานแต่งงาน ค่าดาวน์รถคันแรกหรือบ้านหลังแรกให้บุตรหลาน หรือแม้แต่เงินลงทุนตั้งต้นทำธุรกิจเมื่อบุตรหลานเรียนจบ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมเงินก้อนนี้ไว้ด้วยนะครับ


ตั้งแต่อดีตแล้วที่เงินของท่านด้อยค่าลงเนื่องจากอิทธิพลของเงินเฟ้อ ในอนาคตก็เช่นกันเงินเฟ้อจะทำให้เงินหลังเกษียณของท่านมีมูลค่าน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับราคาอาหารและค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ดังนั้นท่านต้องบริหารจัดการเงินออมของท่านให้สามารถชนะเงินเฟ้อได้ผ่านการลงทุนที่มีหลากหลายรูปแบบเช่น การลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่ออกแบบสำาหรับคนเกษียณเป็นการเฉพาะ ซึ่งคนที่เกษียณอายุแล้วสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายมากกว่าแค่เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล แต่ต้องมั่นคงปลอดภัยเอาไว้ก่อน เพราะเป็นเงินก้อนสุดท้ายก็ต้องรักษาเงินต้นเอาไว้ให้ได้นานที่สุด

สุดท้าย ท่านต้องไม่ลืมนะครับว่าเงินเราจะต้องไม่มีวันเกษียณต้องให้เงินทำางานเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอสำาหรับเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน จนถึงวันสุดท้ายของเรา และสิ่งสำาคัญมากของการออมเพื่อการเกษียณคือต้องมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัดและต้องอดทน เนื่องจากการออมเพื่อใช้หลังเกษียณเป็นการ ออมเงินที่ใช้ระยะเวลานานพอสมควรคร

บทบาทของที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Advisor

โพสต์23 มี.ค. 2559 22:10โดยChanon Klungsub   [ อัปเดต 23 มี.ค. 2559 22:13 โดย Admin3b Smart3b.Net ]

        หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่าที่ปรึกษาทางการเงินหรือนักวางแผนการเงิน เขาทำอะไรกัน แล้วทำไมเราต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน แล้วเราจะเลือกที่ปรึกษาทางการเงินกันอย่างไรดี? ผมขออนุญาติเรียนนำเสนอทุกท่านดังนี้ครับ หน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินคือการให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษามีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้ในอนาคต เช่น แผนบริหารรายรับ-รายจ่าย แผนเกษียณอายุ แผนการศึกษาบุตร แผนภาษี แผนความคุ้มครอง และแผนมรดก เป็นต้น

        ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ปรึกษาทางการเงินจะมีบทบาทที่สำคัญมาก ในการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน ช่วยสร้างประเทศให้มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

ดังนั้นบุคลากรที่จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ ต้องผ่านการเรียนรู้และการอบรมหลักสูตรวิชาชีพนี้ รวมทั้งกรณีให้คำแนะนำหรือบริการสินค้าทางการเงินก็ต้องมีใบอนุญาติจากหน่วยงานกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาติผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ใบอนุญาติตัวแทนประกันชีวิตและวินาศภัย จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นต้น

ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับจากการมีที่ปรึกษาทางการเงิน คือการบริหารจัดการเงินอย่างประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เช่น ทำอย่างไรให้เงินเรามีโอกาสงอกเงยมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะบริหารความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างคุ้มค่า เพื่อทำให้เป้าหมายในชีวิตเราเป็นจริงขึ้นมาได้
เห็นไหมครับ คำว่า “ทำอย่างไร” คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ที่ปรึกษาทางการเงินจะให้คำแนะนำท่าน เพราะมันคือบทบาทหน้าที่ของพวกเขาครับ
มีคนจำนวนมากที่เข้าใจว่าคนรวยเท่านั้นถึงมีโอกาสวางแผนการเงิน ประเด็นนี้ไม่จริงครับ คนทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจนก็สามารถที่จะวางแผนการเงินได้ทั้งนั้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ยิ่งต้องวางแผนการเงินครับ ผมเชื่อว่าทุกชีวิตต่างมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตตนมีความสุขมากยิ่งขึ้น เช่น อยากมีบ้านสักหลัง อยากมีรถสักค้น อยากให้ลูกเรียนสูงๆ อยากสบายตอนเราชราภาพ อยากมีสวัสดิการมารองรับยามเราเจ็บป่วย เป็นต้น

วันนี้ถ้าท่านมีความฝัน แล้วท่านมีความต้องการที่จะสร้างความฝันให้เป็นจริง นอกจากพละกำลังและจิตใจที่เข้มแข็งในการต่อสู้ของท่านแล้ว ท่านลองหาโอกาสพูดคุย ปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินสักคน ท่านอาจจะพบคำตอบที่จะช่วยท่านให้เดินทางสู่เป้าหมายได้เร็วและปลอดภัยมายิ่งขึ้นครับ

กรุงเทพประกันชีวิต ได้ร่วมมือกับพันธมิตรได้แก่ บลจ.บัวหลวง และกรุงเทพประกันภัย เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันเรามีที่ปรึกษาทางการเงินประมาณ 800 คน และคาดว่าจะเป็น 1,000 คนในปีนี้ ซึ่งเป็นบุคลากรที่ผ่านการอบรมเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลโดยตรง รวมทั้งมีใบอนุญาติที่ให้คำแนะนำและบริการสินค้าทางการเงินที่ถูกต้อง

นอกจากนี้เรายังร่วมมื่อในการพัฒนาสินค้าทางการเงินที่ครบวงจร ไม่ว่าสินค้าทางด้านสร้างความมั่งคั่งผ่านกองทุนรวมบัวหลวง และสินค้าทางด้านความมั่งคงผ่านทาง กรุงเทพประกันชีวิต และกรุงเทพประกันภัย เพื่อรองรับและให้บริการแก่ทุกๆ ท่านที่มความสนใจครับ

ที่ผ่านมาตลอด 4-5 ปี ทางทีมงานที่ปรึกษาทางการเงินของเราได้มีโอกาสนำเสนอโครงการภายใต้ชื่อ “ชีวิตออกแบบได้” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการวางแผนการเงินโดยตรงแก่ลูกค้าพนักงาน ข้าราชการและประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสัมมนา การอบรม บทความผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุและโทรทัศน์ ทั้งนี้เพราะเรามุ่งเน้นที่จะช่วยสร้างฐานะและสร้างหลักประกัน ให้กับประชาชนทุกกลุ่มนั่นเอง

“คนทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจนก็สามารถที่จะวางแผนการเงินได้ทั้งนั้น ยิ่งถ้าเป็นคนที่มีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ยิ่งต้องวางแผนการเงิน ครับ”

สุดท้ายมีคำกล่าวที่ว่า “ใครเจอเรา ชีวิตต้องดีขึ้น” การให้ความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง การนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมรวมทั้งการบริการลูกค้าด้วยความปรารถนาดี จึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของที่ปรึกษาทางการเงิน

เราพร้อมที่จะบริการทุกท่าน ลองแวะมาคุยและปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของเรา ไม่แน่นะครับ ชีวิตท่านอาจจเปลี่ยนไปก็ได้ เพราะชีวิตออกแบบได้ครับ

การเงินครอบครัว ไมนด์เซ็ตที่แม่นยำ นำวิธีการที่แยบยล

โพสต์23 มี.ค. 2559 20:00โดยChanon Klungsub   [ อัปเดต 13 ต.ค. 2559 22:58 ]

        พันโทอานันท์ ชินบุตร กูรูด้านการพัฒนาตนเอง และแปลหนังสือมากกว่า 100 เล่ม ได้ให้ความหมายของ ไมนด์เซ็ต (Mindset) ไว้อย่างตรงประเด็นและครอบคลุมว่าคือ ระบบความคิดและจิตใจที่ประกอบด้วย ความเชื่อ ความคิด และอารมณ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักที่ชีวิตใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จนเป็นผลลัพธ์ของชีวิตที่เราเป็น แม้คุณจะรู้เส้นทางแห่งความสำเร็จ แต่คุณอาจไม่เลือกเดินบนนั้น หรือเมื่อเลือกเดินแล้ว อาจลงจากตรงนั้น หรือหาอุปสรรคมาขวางตัวเอง เพราะไมนด์เซ็ตที่ไม่ถูกต้องแม่นยำ

        ไมนด์เซ็ตคือ ยุทธศาสตร์ ที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้ ส่วนวิธีการคือยุทธวิธี ต่อให้ดีเลิศสักเพียงใด หากยุทธศาสตร์ผิด จะพบความเสียดายและเสียเวลาในภายหลัง นี่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ผมอยากจะขอเป็นเบื้องต้นให้ท่านผู้อ่านตระหนักรู้ก่อนที่จะไปมุ่งเอาแต่วิชาการเงิน ว่าลงทุนเป็นอย่างไร จะซื้อประกันอย่างไร จะทำเงินให้งอกเงยอย่างไรเพียงด้านเดียว เพราะไมนด์เซ็ตเป็นต้นทาง โดยเฉพาะผู้นำครอบครัวและสมาชิก ควรทำความเข้าใจและเห็นภาพเดียวกันในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งของครอบครัว

        จากการศึกษาบทความจากผู้เชี่ยวชาญการเงินทั้งหลายทั้งในและต่างประเทศ เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร, โรเบิร์ต คิโยซากิ และ ซูซี ออร์แมน เป็นต้น พบว่าการวางแผนการสู่อิสรภาพทางการเงินนั้นจำเป็นต้อง อาศัยไมนด์เซ็ตที่แม่นยำเป็นจุดเริ่มต้น ย้ำอีกทีนะครับว่าไมนด์เซ็ตคือระบบความคิดและจิตใจที่ประกอบด้วย ความเชื่อ ความคิด และอารมณ์ เริ่มต้นง่ายๆ ว่า ถ้าเรา “ให้เงิน” ผ่านการบริจาค เราก็จะ “ดึงดูด” เงินเข้ามาหาเรามากขึ้น แต่ต้องเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใด นอกจากคุณค่าที่สังคมได้รับหรือคนอื่นได้รับ

คุณเชื่อไหมครับ แอนโทนี่ ร็อบบินส์ ได้สอนผู้เข้าร่วมสัมมนาไว้ว่า “การสร้างความมั่งคั่ง 80% เป็นเรื่องของจิตวิทยา อีก 20% เป็นเรื่องของวิธีการ” (80% of Wealth is Psychology; 20% is Mechanics - Anthony Robbins) กับดักอย่างหนึ่งที่ พันโทอานันท์ ชินบุตร สอนให้เราเข้าใจคือ หลายๆ ครั้งที่เรากำลังคิดว่าเราคิดบวก แต่เรากลับไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วจิตใต้สำนึกของเราได้รับ “ลบ” เข้าไปเต็มๆ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” ซึ่งแปลมาจากที่ฝรั่งใช้คำว่า Financial Freedom หรือ Financial Independence เป็นต้น เมื่อเรานึกถึงคำว่า “อิสรภาพ” เราจะมองไปที่ข้อเท้า เพราะอีกใจหนึ่งจะทำให้นึกถึง “โซ่ตรวน” ที่ถูกมันล่ามไว้โดยไม่รู้ตัวใจนี้เองจึงทำหน้าที่ “ค้าน” และต้านความปรารถนาของเรา ทำให้ไปถึงจุดนั้นได้ช้ากว่าที่ควรหรืออาจจะไม่ถึงเลย ดังนั้นทางที่ดีคือเลิกใช้คำนี้ แล้วชี้เป้าไปที่คำซึ่งมีลักษณะ “บวกบริสุทธิ์” หรือ บวกที่ไม่มีลบเจือปน เช่น “ฉันจะทำงานอย่างมีความสุข ร่ำรวย และรุ่งเรืองมากขึ้นเรื่อยๆ” แทนการใช้คำว่า “ฉันจะขยันทำงานจนกระทั่งมี อิสรภาพทางการเงิน” เป็นต้น

"ไมนด์เซ็ตคือยุทธศาสตร์
ที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้
ส่วนวิธีการคือยุทธวิธี ต่อให้ดีเลิศสักเพียงใด
หากยุทธศาสตร์ผิด จะพบความเสียดาย
และเสียเวลาในภายหลัง"


ผมขอนำเสนอหลักการสร้างไมนด์เซ็ตเพื่อสร้างความรุ่งเรืองทางการเงินครอบครัว ซูซี ออร์-แมน ที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพ และมีชื่อเสียงระดับประเทศของอเมริกา บอกไว้ว่า “เริ่มต้นที่ครอบครัว ต้องเป็นอิสระจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนของชีวิต ไม่ใช่จำนวนเงินที่คุณมีถึงสร้างอิสระได้ แต่ต้องเป็นความรู้สึกของตัวเราที่มีต่อสิ่งที่มี และสิ่งที่ไม่มี ว่าจะเป็นอิสระจากพันธนาการอย่างไร” ลองนั่งสุนทรียสนทนากันของคนในครอบครัวเราที่ต้องการเป็น โดยไม่จำกัดขอบเขตด้วยความรู้ในปัจจุบันของตนเองมากเกินไป เพราะนอกขอบเขตของความรู้ เรายังมีความรู้ที่กว้างกว่า คมกว่า ใช้การได้ดีกว่าอยู่ด้วย แต่ต้องเริ่มต้นจากความรู้ที่เรามีก่อน พอเริ่มได้ถึงค่อยขยายความกว้างมากขึ้น

หัวหน้าครอบครัวต้องให้เวลาทบทวน ณ จุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า ไมนด์เซ็ตของเราแม่นยำไหม เราจะนำครอบครัวเราไปในทางใด หัวหน้าครอบครัวต้องเหมือนโค้ชและครู ที่นำเสนอหนทางและกระตุ้นให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน สร้างความรู้สึกร่วมเป็นบ้านเดียวกัน ทีมเดียวกัน ในการนำทุกคนสู่ความสุขและความรุ่งเรืองทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราได้โอกาสสร้างหรือทบทวนไมนด์เซ็ตของเราแล้ว หลายท่านพบว่า หากพลังของเรายังไม่พอที่จะสร้างไมนด์เซ็ตที่ดีและเหมาะสมได้ จำเป็นต้องหาโค้ชการเงินหรือผู้แนะนำการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุนที่เข้ากันกับเราได้ และมีจิตใจของผู้ให้มาเป็นไกด์นำทาง คนใดที่สามารถทำเองได้ก็ให้รีบทำ แต่อย่าแค่คิด เพราะเวลาผ่านแล้วไม่เคยย้อนกลับ ผมเห็นครอบครัวหลายท่านที่ลูกหลานมีความสุขมากเลยครับ คุณย่านั้นมีที่ดิน มีอสังหาริมทรัพย์ให้คนเช่า มีเงินไหลเข้าบ้านทุกเดือนโดยไม่ต้องเดือดร้อนใดๆ ลูกหลานมีอิสระ สามารถทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ บางครอบครัวก็ให้ลูกหลานมารับสืบทอดกิจการจากรุ่นสู่รุ่น ให้หลานๆ เรียนสูงๆ ไปหาประสบการณ์ทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทต่างๆ แล้วค่อยกลับมาทำงาน นี่ก็เป็นตัวอย่างของครอบครัวที่สร้างทรัพย์สมบัติไว้อย่างดี เพื่อนผมหลายคนที่ตอนนี้ใช้ชีวิตอิสระ เพราะมีรายได้ทุกเดือนจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์บ้าง เงินปันผลในตลาดหุ้นบ้าง และดูแลกิจการเล็กๆ แบบสร้างรายได้ปีละ 1-2 ล้าน เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้สบายๆ เพราะรู้จักที่จะวางแผนการเงินและสร้างไมนด์เซ็ต (Mindset) ชีวิตแบบนี้มานานหลายปีแล้ว

ขอสรุปสุดท้ายให้กับท่านสมาชิกของ กรุงเทพประกันชีวิต การวางแผนการเงิน ครอบครัวต้องเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างฐานะไปพร้อมกับหลักประกันที่ตอบโจทย์ด้านการปกป้องความมั่นคงของครอบครัว และเป็นการออมทรัพย์ที่ดีวิธีหนึ่ง ขอให้ทุกท่านและครอบครัว รุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง ตลอดปี 2558 ครับ




1-3 of 3